วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคนิคการให้สัมภาษณ์


ครูได้เจอข้อความด้านการให้สัมภาษณ์จึงเอามาฝากนักศึกษาและผู้สนใจ  ลองอ่านและนำไปใช้นะค่ะ สำหรับนักศึกษาที่กำลังจะจบและออกไปสัมภาษณ์งาน อาจได้แง่คิดบ้าง

วิทยากร คุณปนัดดา วงศ์ผู้ดี/เรียบเรียงโดย ธิราวรรณ นาคามดี

  1. ภาพลักษณ์ของผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่น การทักทาย บุคลิกภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส
  2. การแต่งกาย มีรสนิยมในการแต่งตัว ถ้าเป็นผู้หญิงควรใส่กระโปรงที่เดินสบาย ไม่สั้นเกินไป เสื้อผ้าไม่คับเกินไป
  3. เครื่องประดับ เช่น ตุ้มหู สร้อย แหวน อย่าทำให้เป็นจุดดึงความสนใจมากกว่าเรื่องที่จะให้สัมภาษณ์
  4. การไหว้ ปลายมืออยู่บริเวณจมูก การกล่าวคำว่าสวัสดี ให้กล่าวก่อนหรือหลังไหว้ก็ได้
  5. การนั่ง ให้ลากเก้าอี้ออกมา น่องแตะเบาะ แล้วรวบกระโปรงลงนั่ง เวลานั่งหลังอย่าชิดเบาะ ให้นั่งเฉียงชิดขา ห้ามไขว่ห้าง ถ้าเป็นผู้ชายให้นั่งแยกขาพอประมาณ วางเท้าตรง มือวางบนขา
  6. เมื่อให้สัมภาษณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะยืนให้ไหว้ให้เรียบร้อยก่อน แล้วลุกเก็บเก้าอี้ในท่าเดิม
  7. การสังเกตุผู้ฟัง โดยดูจากการศึกษา ถ้าเป็นชาวบ้านทั่วไป ให้แปลด้วย หรือถ้าเป็นศัพท์เฉพาะต้องแปล โดยพูดต่อไปเลย ขยายความโดยที่เป็นเนื้อความเดียวกัน
  8. ควรมีเอกสารและ CD แจกสื่อมวลชน
  9. ระดับเสียงไมค์ การจับไมค์ ให้จับตรงกลาง หันสวิทช์เข้าหาตัว ถือไมค์ให้ห่างจากปากประมาณ 1 ฝ่ามือ เวลาจะ Test เสียงไมค์ อย่างตบไมค์ ให้ใช้เกาเบา ๆ
  10. การตั้งชื่อเรื่องของงาน ให้สั้น ๆ กระชับ ให้ได้ใจความ
  11. สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ scrip กับ VTR ต้องให้ตรงกัน เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สำคัญ เช่น ตำแหน่งต่าง ๆ ยศฐาบันดาศักดิ์ ชื่อผู้ได้รับรางวัล วันที่ ชื่อเรื่องต่าง ๆ ต้องให้ถูกต้อง อย่าให้ผิด
  12. การใช้น้ำเสียงในการพูด ถ้าเป็นงานทางการ ต้อง ช้า ชัด โทนต่ำ แบ่งวรรคสั้น ๆ แต่ถ้าเป็นงานรื่นเริง โทนเสียงสูง ประโยคยาวขึ้น
  13. เวลาสัมภาษณ์ให้มองกล้องด้วย และอย่ากอดอก
  14. เวลาถูกสัมภาษณ์ให้พยายามดึงแง่บวกใส่เข้าไป ในกรณีสื่อถามเรื่องในแง่ลบ ให้ตอบคำถามแล้วขยายความในแง่บวกเป็นการประชาสัมพันธ์ใส่เข้าไป โดยไม่ต้องรอให้สื่อถาม
  15. การใช้มือ ให้ใช้การผายมือ อย่าใช้นิ้วชี้
  16. ก่อนที่จะพูดให้ได้ดี ต้องอ่านและฟังให้มาก
  17. การถือ scrip แล้วมือสั่น ให้พับเหลือ 1/2 หรือ 1/4
  18. ก่อนจะให้สัมภาษณ์ สร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง สร้างความคุ้นเคยกับสถานที่ ต้องตั้งสติให้ดีที่สุด พูดช้า ๆ ชัด ๆ ย้ำได้ก็ย้ำ ในใจความสำคัญ
  19. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีต้องการเข้าห้องน้ำด่วน โดยอ้างเหตุงาน ว่าจะต้องรีบไปประชุมหรือมีงานเร่งด่วน แต่ห้ามบอกว่าจะเข้าห้องน้ำเด็ดขาด
  20. การให้สัมภาษณ์ต้องสามารถอ้างอิงได้ว่าอ้างอิงคำพูดจากที่ไหน
  21. โดยปกติกลุ่มผู้สัมภาษณ์จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
    • กลุ่มที่ชอบ อันนี้ไม่ต้องทำอะไรมาก
    • กลุ่มที่เป็นกลาง ต้องพยายามดึงให้หันมาชอบ
    • กลุ่มที่ไม่ชอบ พยายามดึงให้หันมาเป็นกลางก็ยังดี
  22. ก่อนการสัมภาษณ์ ให้บอกหัวหน้าที่จะถูกสัมภาษณ์ด้วยว่า สื่อคนไหนอยู่กลุ่มไหน ใครเคยช่วยลงข่าวให้บ้าง

ความหมายและความสำคัญของการประชาสัมพันธ์

การประชาสัมพันธ์ (Public Relations)


บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ (Introduction to PR.)

ความหมายและความสำคัญของการประชาสัมพันธ์

                        คำว่า การประชาสัมพันธ์ (Public Relations)  เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากในปัจจุบัน ทั้งตามหน่วยงาน องค์การ สถาบันต่าง ๆ และในหมู่สาธารณชนทั่วไปที่เป็นเช่นนี้ น่าจะเป็นเพราะงานประชาสัมพันธ์กำลังได้รับความสนใจ และยอมรับจากประชาชนทั่วไปในฐานะที่การประชาสัมพันธ์เป็นงานเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างหน่วยงาน สถาบันกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง
                        คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยกับบทบาทของการประชาสัมพันธ์ แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจความหมายอย่างแท้จริงของการประชาสัมพันธ์ที่ถูกต้องตรงกัน  ในความหมายที่ง่ายที่สุด  คำว่า การประชาสัมพันธ์ หมายถึงการสัมพันธ์กับประชาชน  (relation with the public)  แต่การอธิบายความหมายสั้น ๆ นั้นไม่เกิดประโยชน์อันใด อีกทั้งยังก่อให้เกิดความไขว้เขวขึ้นได้  เพราะคำนี้มีความหมายทั้งแง่สภาพการณ์และแง่กิจกรรม อย่างไรก็ตาม เป็นทียอมรับกันโดยทั่วไปว่า การประชาสัมพันธ์ หรือการดำเนินการประชาสัมพันธ์นั้น ส่วนหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการชักจูงประชามติ   (Public Opinion) ด้วยวิธีการติดต่อสื่อสาร (Communication) เพื่อให้กลุ่มประชาชนเป้าหมาย  (Target publics)  เกิดมีความรู้ ความเข้าใจ และความรุ้สึกนึกคิดที่ดีต่อหน่วยงาน องค์การ สถาบัน การประชามติ (Publicity)
                       
  1. ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกรู้จักองค์กรสื่อสารในลักษณะที่ดี สร้างภาพลักษณ์หรือภาพพจน์ในทางบกทำให้องค์กรมีความเจริญงอกงาม
  2. มีการศึกษา วางแผน และสื่อสารให้บุคคลภายนอกได้รู้จักองค์กรมากขึ้น พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์กรมีจิตสำนึกเดียวกัน พร้อมทั้งพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์ในภาพรวมขององค์กร
  1. มีการประชาสัมพันธ์ให้ทันสมัยให้สมกับเป็ยยุคโลกาภิวัฒน์ ต้องใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นแกนนำ มีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสื่อสาร
  2. ต้องมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโฆษณา สื่อสารการตลาด หรือทางโทรทัศน์ฯลฯ
  1. มีการสร้างความรับผิดชอบในการคืนกำไรสู่สังคม
  2. เครื่องมือและอุปกรณ์ต้องมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งบุคลากรต้องมีการพัฒนาให้ทันสมัยทันเหตุการณ์ในภาวะปกติและวิกฤต
  1. ทำตัวให้เป็นเหมือนทูตขององค์กร สามารถติดต่อบุคคลได้ทั้งภายในและภายนอก
  2. พนักงานประชาสัมพันธ์ต้องเป็นตัวหลัก และพนักงานอื่นๆ เป็นตัวช่วยเสริม สามารถติดต่อหรือตอบข้อสักถามให้กับหน่วยงานหรือองค์กร
  3. ต้องมีการวิจัย วางแผน การจัดเก็บข้อมูล สามารถตอบข้อสอบถาม เทคนิค หรือบริการข้อมูลในรูปต่างๆ ได้
  4. ต้องมีการรับฟังความคิดเห็น คำแนะนำปรึกษา
  5. ต้องมีทักษณะในการเขียน เผยแพร่ แก้ไขภาพลักษณ์
  6. มีความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ มีจรรยาบรรณ มีทัศนคติที่ดี รักษาความลับคำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์กร
  7. มีการนำเสนอข่าวสารประชาสัมพันธ์อย่างดีถูกกฎ ระเบียบ บรรทัดฐาน มนุษย์สัมพันธ์ดี บุคลิกที่ดี และที่สำคัญต้องมีวัฒนธรรมทางภาษาที่สุภาพเรียบร้อย ฯลฯ
   คราวหน้า เรามาดู วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์กันนะคะ แล้วพบกันค่ะ