วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคนิคการให้สัมภาษณ์


ครูได้เจอข้อความด้านการให้สัมภาษณ์จึงเอามาฝากนักศึกษาและผู้สนใจ  ลองอ่านและนำไปใช้นะค่ะ สำหรับนักศึกษาที่กำลังจะจบและออกไปสัมภาษณ์งาน อาจได้แง่คิดบ้าง

วิทยากร คุณปนัดดา วงศ์ผู้ดี/เรียบเรียงโดย ธิราวรรณ นาคามดี

  1. ภาพลักษณ์ของผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่น การทักทาย บุคลิกภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส
  2. การแต่งกาย มีรสนิยมในการแต่งตัว ถ้าเป็นผู้หญิงควรใส่กระโปรงที่เดินสบาย ไม่สั้นเกินไป เสื้อผ้าไม่คับเกินไป
  3. เครื่องประดับ เช่น ตุ้มหู สร้อย แหวน อย่าทำให้เป็นจุดดึงความสนใจมากกว่าเรื่องที่จะให้สัมภาษณ์
  4. การไหว้ ปลายมืออยู่บริเวณจมูก การกล่าวคำว่าสวัสดี ให้กล่าวก่อนหรือหลังไหว้ก็ได้
  5. การนั่ง ให้ลากเก้าอี้ออกมา น่องแตะเบาะ แล้วรวบกระโปรงลงนั่ง เวลานั่งหลังอย่าชิดเบาะ ให้นั่งเฉียงชิดขา ห้ามไขว่ห้าง ถ้าเป็นผู้ชายให้นั่งแยกขาพอประมาณ วางเท้าตรง มือวางบนขา
  6. เมื่อให้สัมภาษณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะยืนให้ไหว้ให้เรียบร้อยก่อน แล้วลุกเก็บเก้าอี้ในท่าเดิม
  7. การสังเกตุผู้ฟัง โดยดูจากการศึกษา ถ้าเป็นชาวบ้านทั่วไป ให้แปลด้วย หรือถ้าเป็นศัพท์เฉพาะต้องแปล โดยพูดต่อไปเลย ขยายความโดยที่เป็นเนื้อความเดียวกัน
  8. ควรมีเอกสารและ CD แจกสื่อมวลชน
  9. ระดับเสียงไมค์ การจับไมค์ ให้จับตรงกลาง หันสวิทช์เข้าหาตัว ถือไมค์ให้ห่างจากปากประมาณ 1 ฝ่ามือ เวลาจะ Test เสียงไมค์ อย่างตบไมค์ ให้ใช้เกาเบา ๆ
  10. การตั้งชื่อเรื่องของงาน ให้สั้น ๆ กระชับ ให้ได้ใจความ
  11. สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ scrip กับ VTR ต้องให้ตรงกัน เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สำคัญ เช่น ตำแหน่งต่าง ๆ ยศฐาบันดาศักดิ์ ชื่อผู้ได้รับรางวัล วันที่ ชื่อเรื่องต่าง ๆ ต้องให้ถูกต้อง อย่าให้ผิด
  12. การใช้น้ำเสียงในการพูด ถ้าเป็นงานทางการ ต้อง ช้า ชัด โทนต่ำ แบ่งวรรคสั้น ๆ แต่ถ้าเป็นงานรื่นเริง โทนเสียงสูง ประโยคยาวขึ้น
  13. เวลาสัมภาษณ์ให้มองกล้องด้วย และอย่ากอดอก
  14. เวลาถูกสัมภาษณ์ให้พยายามดึงแง่บวกใส่เข้าไป ในกรณีสื่อถามเรื่องในแง่ลบ ให้ตอบคำถามแล้วขยายความในแง่บวกเป็นการประชาสัมพันธ์ใส่เข้าไป โดยไม่ต้องรอให้สื่อถาม
  15. การใช้มือ ให้ใช้การผายมือ อย่าใช้นิ้วชี้
  16. ก่อนที่จะพูดให้ได้ดี ต้องอ่านและฟังให้มาก
  17. การถือ scrip แล้วมือสั่น ให้พับเหลือ 1/2 หรือ 1/4
  18. ก่อนจะให้สัมภาษณ์ สร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง สร้างความคุ้นเคยกับสถานที่ ต้องตั้งสติให้ดีที่สุด พูดช้า ๆ ชัด ๆ ย้ำได้ก็ย้ำ ในใจความสำคัญ
  19. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในกรณีต้องการเข้าห้องน้ำด่วน โดยอ้างเหตุงาน ว่าจะต้องรีบไปประชุมหรือมีงานเร่งด่วน แต่ห้ามบอกว่าจะเข้าห้องน้ำเด็ดขาด
  20. การให้สัมภาษณ์ต้องสามารถอ้างอิงได้ว่าอ้างอิงคำพูดจากที่ไหน
  21. โดยปกติกลุ่มผู้สัมภาษณ์จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
    • กลุ่มที่ชอบ อันนี้ไม่ต้องทำอะไรมาก
    • กลุ่มที่เป็นกลาง ต้องพยายามดึงให้หันมาชอบ
    • กลุ่มที่ไม่ชอบ พยายามดึงให้หันมาเป็นกลางก็ยังดี
  22. ก่อนการสัมภาษณ์ ให้บอกหัวหน้าที่จะถูกสัมภาษณ์ด้วยว่า สื่อคนไหนอยู่กลุ่มไหน ใครเคยช่วยลงข่าวให้บ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น