การประชาสัมพันธ์ (Public Relations)
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ (Introduction to PR.)
ความหมายและความสำคัญของการประชาสัมพันธ์
คำว่า การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากในปัจจุบัน ทั้งตามหน่วยงาน องค์การ สถาบันต่าง ๆ และในหมู่สาธารณชนทั่วไปที่เป็นเช่นนี้ น่าจะเป็นเพราะงานประชาสัมพันธ์กำลังได้รับความสนใจ และยอมรับจากประชาชนทั่วไปในฐานะที่การประชาสัมพันธ์เป็นงานเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างหน่วยงาน สถาบันกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง
คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยกับบทบาทของการประชาสัมพันธ์ แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจความหมายอย่างแท้จริงของการประชาสัมพันธ์ที่ถูกต้องตรงกัน ในความหมายที่ง่ายที่สุด คำว่า การประชาสัมพันธ์ หมายถึง “การสัมพันธ์กับประชาชน” (relation with the public) แต่การอธิบายความหมายสั้น ๆ นั้นไม่เกิดประโยชน์อันใด อีกทั้งยังก่อให้เกิดความไขว้เขวขึ้นได้ เพราะคำนี้มีความหมายทั้งแง่สภาพการณ์และแง่กิจกรรม อย่างไรก็ตาม เป็นทียอมรับกันโดยทั่วไปว่า การประชาสัมพันธ์ หรือการดำเนินการประชาสัมพันธ์นั้น ส่วนหนึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการชักจูงประชามติ (Public Opinion) ด้วยวิธีการติดต่อสื่อสาร (Communication) เพื่อให้กลุ่มประชาชนเป้าหมาย (Target publics) เกิดมีความรู้ ความเข้าใจ และความรุ้สึกนึกคิดที่ดีต่อหน่วยงาน องค์การ สถาบัน การประชามติ (Publicity)
- ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกรู้จักองค์กรสื่อสารในลักษณะที่ดี สร้างภาพลักษณ์หรือภาพพจน์ในทางบกทำให้องค์กรมีความเจริญงอกงาม
- มีการศึกษา วางแผน และสื่อสารให้บุคคลภายนอกได้รู้จักองค์กรมากขึ้น พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์กรมีจิตสำนึกเดียวกัน พร้อมทั้งพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์ในภาพรวมขององค์กร
- มีการประชาสัมพันธ์ให้ทันสมัยให้สมกับเป็ยยุคโลกาภิวัฒน์ ต้องใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นแกนนำ มีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสื่อสาร
- ต้องมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโฆษณา สื่อสารการตลาด หรือทางโทรทัศน์ฯลฯ
- มีการสร้างความรับผิดชอบในการคืนกำไรสู่สังคม
- เครื่องมือและอุปกรณ์ต้องมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งบุคลากรต้องมีการพัฒนาให้ทันสมัยทันเหตุการณ์ในภาวะปกติและวิกฤต
- ทำตัวให้เป็นเหมือนทูตขององค์กร สามารถติดต่อบุคคลได้ทั้งภายในและภายนอก
- พนักงานประชาสัมพันธ์ต้องเป็นตัวหลัก และพนักงานอื่นๆ เป็นตัวช่วยเสริม สามารถติดต่อหรือตอบข้อสักถามให้กับหน่วยงานหรือองค์กร
- ต้องมีการวิจัย วางแผน การจัดเก็บข้อมูล สามารถตอบข้อสอบถาม เทคนิค หรือบริการข้อมูลในรูปต่างๆ ได้
- ต้องมีการรับฟังความคิดเห็น คำแนะนำปรึกษา
- ต้องมีทักษณะในการเขียน เผยแพร่ แก้ไขภาพลักษณ์
- มีความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ มีจรรยาบรรณ มีทัศนคติที่ดี รักษาความลับคำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์กร
- มีการนำเสนอข่าวสารประชาสัมพันธ์อย่างดีถูกกฎ ระเบียบ บรรทัดฐาน มนุษย์สัมพันธ์ดี บุคลิกที่ดี และที่สำคัญต้องมีวัฒนธรรมทางภาษาที่สุภาพเรียบร้อย ฯลฯ
คราวหน้า เรามาดู วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์กันนะคะ แล้วพบกันค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น